บทที่ 1 การวัดและการแปลความหมายข้อมูล

ระบบหน่วยระหว่างชาติ
ปริมาณทางฟิสิกส์  เป็นปริมาณที่สามารถวัดได้ด้วยเครื่องมือโดยตรงหรือโดยอ้อม      เป็นปริมาณที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่งเช่น  ปริมาตร  มวล  น้ำหนัก  ความเร็ว  ความดัน  แรง  กระแสไฟฟ้า  ความต่างศักย์ไฟฟ้า  อุณหภูมิ เป็นต้น  ปริมาณเหล่านี้จะต้องมีหน่วยกำกับจึงจะมีความหมายชัดเจน

เพื่อให้การใช้หน่วยเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก  โดยเฉพาะในวงการทางวิทยาศาสตร์ องค์กรระหว่างชาติเพื่อการมาตรฐาน  ( ISO  : International  Organization  for  Standardization )  ได้กำหนดระบบหน่วยมาตรฐานที่เรียกว่า ระบบหน่วยระหว่างชาติ  หรือ ระบบเอสไอ           ( SI : Systeme  Internationale ) ให้ทุกประเทศใช้เป็นมาตรฐาน

ระบบเอสไอ  ประกอบด้วยหน่วยฐาน  หน่วยอนุพันธ์  และหน่วยเสริม

หน่วยฐาน ( Base  Units )  เป็นหน่วยหลักของเอสไอ  มี 7 หน่วย  ได้แก่
ปริมาณ
หน่วย
สัญลักษณ์
ความยาว
เมตร
m
มวล
กิโลกรัม
kg
เวลา
วินาที
s
อุณหภูมิอุณหพลวัต
เคลวิน
K
กระแสไฟฟ้า
แอมแปร์
A
ปริมาณของสาร
โมล
mol
ความเข้มของการส่องสว่าง
แคนเดลา
cd




หน่วยอนุพัทธ์ ( Derived  Units )  เป็นหน่วยที่มีหน่วยฐานหลายๆหน่วยมาประกอบกัน  เช่น
ปริมาณ
หน่วย
สัญลักษณ์
ความเร็ว
เมตร/วินาที
m/s
ความเร่ง
เมตร/วินาที²
m/s²
แรง
นิวตัน
N
งาน
จูล
J
กำลัง
วัตต์
W
ความถี่
เฮิรตซ์
Hz
ความดัน
พาสคาล
Pa


หน่วยเสริม ( Supplimentary Units ) มี 2 หน่วย  คือ

1.     เรเดียน ( Radian : rad )  เป็นหน่วยวัดมุมในระนาบมุม 1 เรเดียน 
คือ  มุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลมที่รองรับความยาวของส่วนโค้งที่มีความยาวเท่ากับรัศมี

มุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลมมีขนาด 2p เรเดียน

2.      สเตอเรเดียน ( Steradian : sr )  เป็นหน่วยวัดมุมตันมุม 1 สเตอเรเดียน 
คือ  มุมที่จุดศูนย์กลางของทรงกลมที่รองรับพื้นที่ผิวโค้งที่มีพื้นที่เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีความยาวด้านเท่ากับรัศมี

มุมรอบจุดศูนย์กลางของทรงกลมมีขนาด 4p สเตอเรเดียน



คำอุปสรรค (Prefixes )

เมื่อคำในหน่วยฐานหรือหน่วยอนุพัทธ์น้อยหรือมากเกินไป  เราอาจเขียนคำนั้นให้อยู่ในรูป  ตัวเลข คูณด้วย ตัวพหุคูณ ( ตัวพหุคูณ  คือ  เลขสิบยกกำลังบวกหรือลบ) ได้

คำอุปสรรค (ไทย)
คำอุปสรรค (อังฤษ)
จำนวน
สัญลักษณ์
เอกซะ
Exa
1018
E
เพตะ
Peta
1015
P
เทอรา
Tera
1012
T
จิกะ
Giga
109
G
เมกะ
Mega
106
M
กิโล
Kilo
103
k
เฮกโต
Hector
102
h
เดคะ
Deka
101
dk หรือ da
เดซิ
Deci
10-1
d
เซนติ
Centi
10-2
c
มิลลิ
Milli
10-3
m
ไมโคร
Micro
10-6
µ
นาโน
Nano
10-9
n
พิโค
Pico
10-12
p
เฟมโต
Femto
10-15
f
อัตโต
Atto
10-18
a

Ex. จงแปลงจาก 9 นาโนเมตร(nm) ให้เป็น จิกะเมตร(Gm)




Ex. ระยะทาง 100 กิโลเมตร(km) มีค่ากี่มิลลิเมตร(mm)




Ex. เครื่องบินลำหนึ่งบินด้วยความเร็ว 108 กิโลเมตรต่อชั่วโมง(km/hr) คิดเป็นอัตราเร็วเท่าใดในหน่วยเมตรต่อวินาที(m/s)




Trick : ดังนั้น การแปลงกิโลเมตรต่อชั่วโมง ==> เมตรต่อวินาที ก็ให้นำ 5/18 มาคูณ
เช่นเดียวกัน การแปลงเมตรต่อวินาที ==> กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก็ให้นำ 18/5 มาคูณ



*ข้อควรจำ  


เลขนัยสำคัญ
เลขนัยสำคัญ คือ ตัวเลขที่เกิดจากการวัด จะมีทั้งค่าจริงและค่าประมาณ
    1.     เลข 1 ถึง 9 ให้นับเป็นเลขนัยสำคัญ  เช่น
45  มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว
548  มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว
656.54 มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว
     2.     เลข 0 อยู่ระหว่างตัวเลข(1-9) ให้นับเป็นเลขนัยสำคัญ  เช่น
3005  มีเลขนัยสำคัญ 4 ตัว
50.005  มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว
8.0002  มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว

    3.     เลข 0 อยู่หลังตัวเลข(1-9) และมีจุดทศนิยมให้นับเป็นเลขนัยสำคัญ  เช่น
4.0  มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว
180.03  มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว
801  มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว
     4.     เลข 0 อยู่ด้านซ้ายมือของตัวเลขไม่นับเป็นเลขนัยสำคัญ
007  มีเลขนัยสำคัญ 1 ตัว
0.035  มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว
0.004004500  มีเลขนัยสำคัญ 7 ตัว
      5.  ไม่นับเป็นเลขนัยสำคัญ

ตัวอย่างการนับเลขนัยสำคัญ
Ex. 0.00000008 มีเลขนัยสำคัญกี่ตัว
ตอบ 1 ตัว
Ex. 82.0054  มีเลขนัยสำคัญกี่ตัว
ตอบ 6 ตัว
Ex. 0.503  มีเลขนัยสำคัญกี่ตัว
ตอบ  3 ตัว


การบวก( + )ลบ( - ) เลขนัยสำคัญ
==> ในการบวกลบเลขนัยสำคัญ เมื่อบวกลบเสร็จแล้ว  จะคงเหลือจำนวนเลขทศนิยมไว้ให้เท่ากับจำนวนเลขทศนิยมตัวน้อยที่สุด (ให้ดูทั้งหมดทุกตัวนะ) เช่น
3.035 + 5.2 + 8.09 = 16.325 ==>  ตอบ  16.3 (ตอบตามจุดทศนิยมน้อยที่สุด)
405 + 7.12 + 98.003 = 510.123  ==> ตอบ 510 (ตอบตามจุดทศนิยมน้อยที่สุด)


การบวกเลขนัยสำคัญ


การคูณ หาร เลขนัยสำคัญ

==> ในการคูณหารเลขนัยสำคัญ เมื่อคูณหารเสร็จแล้ว จะคงเหลือจำนวนเลขทศนิยมไว้ให้เท่ากับจำนวนเลขนัยสำคัญตัวน้อยที่สุด (ให้ดูทั้งหมดทุกตัวนะ) เช่น
62.5 คูณด้วย 0.073 = 4.562  ==> ตอบ 4.6 (ตอบตามเลขนัยสำคัญน้อยที่สุด โดยดูทุกตัว)
0.024 หารด้วย 0.006 = 4 ==> ตอบ  4  (ตอบตามเลขนัยสำคัญน้อยที่สุด โดยดูทุกตัว)




ความไม่แน่นอนของการวัด
 ในการวัดปริมาณต่างๆ ด้วยเครื่องมือ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการทดลอง ย่อมไม่สามารถวัดได้อย่างแม่นยำ  โดยทั่วไปจะมีความผิดพลาด(Error) หรือความคลาดเคลื่อนอยู่เสมอ




จากรูปอ่านค่าได้  
 

0.1 cm คือ ค่าความคลาดเคลื่อน ที่มีทั้งค่าบวก และค่าลบ

         ดังนั้นในการวัดหลายๆปริมาณความคลาดเคลื่อนก็ย่อมเพิ่มมากขึ้นด้วย  ดังนั้นเราจึงมีวิธีคำนวณหาความไม่แน่นอนในการวัดดังนี้  สมมติให้ความไม่แน่นอนเกิดจากสองปริมาณ คือ ปริมาณ x และปริมาณ จะได้ดังนี้



การหาความคลาดเคลื่อนของผลลัพธ์ ที่เกิดจากการบวกลบ คูณหาร

การบวก


การลบ


การบวกลบ ค่าความคลาดเคลื่อนบวกกันเสมอ


การคูณ


การหาร



การคูณหาร ค่าความคลาดเคลื่อนบวกกันเสมอ


ตัวอย่างการคำนวณค่าความไม่แน่นอนในการวัด

Ex. ต้าร์มีเชือกยาวเท่ากับนำเชื่อกมาต่อกับเตยที่มีความยาวเชือก  จงหาผลรวมของความยาวเชือกทั้งหมด
วิธีทำ

          จากโจทย์



          ดังนั้น  จึงใช้สูตร ผลบวก

Ans.



Ex. จงคำนวณหาความหนาแน่นของโลหะทองแดงที่มีมวลและมีปริมาตร 

วิธีทำ

         จากโจทย์  ให้หาความหนาแน่น

                    โดยความหนาแน่น( p )  


                     จากโจทย์ เรามี



         ดังนั้น จึงใช้สูตร ผลหาร






  Ans.





https://kruaumpan.wordpress.com /ฟิสิกส์-ม-ปลาย/หน่วยเอสไอ/
http://physicstool.blogspot.com/2013/08/significant.html
https://th.wikipedia.org/wiki/คำอุปสรรคเอสไอ
http://physicstool.blogspot.com/2013/08/prefixes.html

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ 5 การเคลื่อนที่แบบต่างๆ

บทที่ 2 เวกเตอร์