บทที่ 3 การเคลื่อนที่ในหนึ่งมิติ

การเคลื่อนที่ในหนึ่งมิติ


1.  ความหมายของการเคลื่อนที่
1.1  การเคลื่อนที่ (Motion) หมายถึง  ขบวนการอย่างหนึ่งที่ทำให้มี             
 การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งอย่างต่อเนื่องตามเวลาที่ผ่านไป โดยมีทิศทางและระยะทาง
1.2  การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง (Rectilinear motion) หมายถึง 
การเคลื่อนที่ของวัตถุที่เป็นแนวเส้นตรงซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างความเร็ว เวลา ความเร่ง และระยะทาง    
ที่วัตถุเคลื่อนที่ไปได้ (นันทพงษ์  ลายทอง และคณะ, 2549)
       ลักษณะการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง  สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวซึ่งมีการเคลื่อนที่       
  นั้นจะมีการเคลื่อนที่แตกต่างกันออกไป  เช่น การเคลื่อนที่ในแนวตรง  แนวโค้ง           
  เป็นวงกลม  หรือกลับไปกลับมาในการที่เราจะพิจารณาว่าวัตถุมีการเคลื่อนที่หรือไม่ พิจารณาที่
มีการเปลี่ยนตำแหน่งหรือไม่  ถ้ามีการเปลี่ยนตำแหน่ง ถือเป็นการเคลื่อนที่
1.3  การบอกตำแหน่งของวัตถุ การบอกตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ
นั้นทำได้โดยการบอกตำแหน่งเทียบกับตำแหน่งหรือสิ่งที่สังเกตได้โดยง่าย  ซึ่งเรียกว่า ตำแหน่งอ้างอิงหรือจุดอ้างอิง
ซึ่งต้องเป็นจุดที่หยุดนิ่ง


2.  ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่
                2.1  เวลา  (Time, t) การที่จะทราบว่าวัตถุเคลื่อนที่หรือไม่
จะเริ่มจากการสังเกตวัตถุนั้นในช่วงเวลาหนึ่ง  ซึ่งจุดที่เริ่มสังเกตจะนับเวลาเริ่มต้น ณ จุดนั้น
 มีค่า t = 0  จากนั้นเมื่อเวลาผ่านไป วัตถุจะมีการเปลี่ยนตำแหน่ง ช่วงเวลาที่สังเกต
 จะเป็นเวลาที่วัตถุเคลื่อนที่ซึ่งถ้าไม่ทราบค่าแน่นอนจะใช้ t  แทนช่วงเวลาดังกล่าว  
 โดยมีหน่วยเป็นวินาที (s)
2.2  ระยะทาง (Distance, s) หมายถึง  แนวเส้นที่วัตถุเคลื่อนที่ไปโดยนับจากจุดเริ่มต้นอ้างอิง ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่จะเพิ่มขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป การวัดระยะทาง   จะวัดตามแนวทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไป  ถ้าวัตถุเคลื่อนที่เป็นแนวเส้นตรงก็วัดระยะทางได้ง่ายขึ้น  แต่ถ้าแนวทางไม่เป็นเส้นตรงก็จะวัดระยะทางได้ลำบาก  ระยะที่วัตถุเคลื่อนที่ไปได้ตามเส้นทางที่วัตถุนั้นเคลื่อนที่จริง ๆ โดยไม่คำนึงว่าวัตถุจะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงหรือไม่  ระยะทางเป็นปริมาณสเกลาร์
                2.3 การกระจัด (Displacement, d) หมายถึง  การที่วัตถุเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยการเคลื่อนที่จากตำแหน่งเริ่มต้นไปยังตำแหน่งสุดท้าย  โดยมีทิศทางจัดเป็นปริมาณเวกเตอร์ มีหน่วยเป็นเมตร (m) (นันทพงษ์  ลายทองและคณะ, 2549)
https://chapter3motion.files.wordpress.com/2011/08/untitled-1.jpg?w=300&h=154
รูป ภาพที่  3.2  การกระจัด

                    สรุป ระยะห่างตามแนวเส้นตรงระหว่างจุดเริ่มต้นถึงจุดสุดท้าย เป็นปริมาณเวกเตอร์  มีขนาดเท่ากับระยะห่างและทิศทางจากจุดเริ่มต้นถึงจุดสุดท้าย
ข้อเปรียบเทียบระหว่างระยะทางกับการกระจัด
1.  ระยะทางเป็นปริมาณสเกลาร์  การกระจัดเป็นปริมาณเวกเตอร์ฃ
2.  ขนาดของระยะทางจะมากกว่าการกระจัดเสมอ ถ้าวัตถุนั้นไม่ได้เคลื่อนที่ใน
แนวเส้นตรงตลอด  เช่น วัตถุหนึ่งเคลื่อนที่จาก A ไปทางทิศตะวันออก ถึง B  เป็นระยะทาง 12  เมตร 
แล้วเคลื่อนที่ต่อไปทางทิศเหนือ ถึง C เป็นระยะ  5  เมตร
https://chapter3motion.files.wordpress.com/2011/08/untitled-2.jpg?w=614



รูปภาพที่  3.3   การหาการกระจัด
                          ระยะทาง =  AB + BC = 12 + 5 = 17 เมตร
https://chapter3motion.files.wordpress.com/2011/08/untitled-3.jpg?w=300&h=43
3. ขนาดของระยะทางกับการกระจัดมีโอกาสเท่ากันได้  ถ้าวัตถุนั้นเคลื่อนที่โดยไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง 
                  2.4 อัตราเร็ว คือ  ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ในหนึ่งหน่วยเวลาเป็นปริมาณสเกลาร์  ไม่คำนึงถึงทิศทาง 
มีหน่วยเป็นเมตร / วินาที
https://chapter3motion.files.wordpress.com/2011/08/untitled-4.jpg?w=614
ตัวอย่างที่ 3.1 จงหาอัตราเร็วของการเคลื่อนที่จากจุด A ไปจุด B  ซึ่งมีระยะทาง 750 เมตร เวลาในการเดินทาง10วินาที
วิธีทำ 
https://chapter3motion.files.wordpress.com/2011/08/untitled-5.jpg?w=614

=     75      m/s                          ตอบ
2.5  ความเร็ว (velocity)  คือ  ระยะการเปลี่ยนแปลงการกระจัดหรือระยะการเปลี่ยนตำแหน่งที่เกิดขึ้น
ในหนึ่งหน่วยเวลา  เป็นปริมาณเวกเตอร์   มีหน่วยเป็นเมตร / วินาที
https://chapter3motion.files.wordpress.com/2011/08/untitled-6.jpg?w=614 
  2.6 ความเร็วเฉลี่ย (average  velocity) เป็นความเร็วที่เฉลี่ยว่าความเร็วของการเคลื่อนที่แต่ละจุดเป็นเส้นทางที่วัตถุเคลื่อนที่มีค่าเท่ากัน  เป็นการเปลี่ยนแปลงการกระจัดในช่วงเวลายาว ๆ  มีทิศเดียวกัน  ซึ่งกำหนด  u  =  ความเร็วต้น  และ     =   ความเร็วปลาย
https://chapter3motion.files.wordpress.com/2011/08/untitled-7.jpg?w=614
ตัวอย่างที่ 3.2  รถคันหนึ่งวิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 5 เมตร/วินาที  ถ้าใช้เวลาในการวิ่งไป  20 วินาที จะมีการกระจัดเท่าใด
วิธีทำ
https://chapter3motion.files.wordpress.com/2011/08/untitled-8.jpg?w=300&h=104
https://chapter3motion.files.wordpress.com/2011/08/untitled-91.jpg?w=614&h=103
การหาความเร็วเฉลี่ยและ ความเร็วขณะใดขณะหนึ่งจากกราฟ
ถ้าเขียนกราฟระหว่างการกระจัด  d    และเวลา  t  ความชันของเส้นตรงที่ลากระหว่างตำแหน่งคู่ใด  ๆ  คือ
ความเร็วเฉลี่ยของการเคลื่อนที่ระหว่างตำแหน่งทั้งสอง
https://chapter3motion.files.wordpress.com/2011/08/untitled-101.jpg?w=614
รูปภาพที่ 3.4 แสดงกราฟความสัมพันธ์ระหว่าง d กับ t
จากกราฟความชัน(slope) ของเส้นตรงที่ต่อระหว่าง A และ B  คือความเร็วเฉลี่ยของการเคลื่อนที่ในช่วง AB  หรือเป็นความเร็วเฉลี่ยในช่วง  t1 ถึง  t2 
https://chapter3motion.files.wordpress.com/2011/08/untitled-11.jpg?w=614
https://chapter3motion.files.wordpress.com/2011/08/untitled-12.jpg?w=614&h=60
   ข้อเปรียบเทียบระหว่างอัตราเร็วกับความเร็ว
                        1.  อัตราเร็วเป็นปริมาณสเกลาร์ ความเร็วเป็นปริมาณเวกเตอร์
                        2.  ถ้าวัตถุเคลื่อนที่โดยไม่เปลี่ยนทิศทาง (เคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง) ขนาดของความเร็ว คือ อัตราเร็ว
                        3.  อัตราเร็วจะมีค่าเปลี่ยนแปลงเมื่อขนาดเปลี่ยนแปลง
                        4.  ความเร็วจะเปลี่ยนแปลงเมื่อ
                         4.1  ขนาดเปลี่ยนแปลง
                                         4.2  ขนาดคงที่แต่ทิศทางเปลี่ยนแปลง  เช่น  วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่เป็นวงกลมด้วยอัตราเร็วคงที่
  ความเร็วของการเคลื่อนที่จะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งนี้เพราะเส้นทางของความเร็วเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
https://chapter3motion.files.wordpress.com/2011/08/untitled-13.jpg?w=614
ถ้าพิจารณาการเคลื่อนที่ที่ยาวขึ้น  ความเร่งขณะหนึ่งอาจมีค่าไม่คงที่  อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้
จึงนิยมบอกความเร่งในรูปของอัตราเร่งเฉลี่ย a ซึ่งเป็นอัตราส่วนระหว่างความเร็วที่เปลี่ยนไปทั้งหมด
กับช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงความเร็วนั้น
                        ในภาษาไทย คำว่าเร่งหมายถึงทำให้เร็วขึ้น  แต่ในทางฟิสิกส์เป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงความเร็ว 
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอาจมีทั้งเร็วขึ้นหรือช้าลง   (ถ้าช้าลงเราเรียกว่าความหน่วง(Deceleration) เร็วขึ้นเรียกว่าความเร่ง
ซึ่งก็คือความเร่งในทางฟิสิกส์ ต่างกันที่ทิศทาง)
                       
                  ตัวอย่างที่ 3.3 รถยนต์คันหนึ่งเคลื่อนที่ในแนวตรง โดยมีความเร็วเริ่มต้น10 m/sและมีความเร็ว
เพิ่มขึ้นทุกๆ 1 S
  ซึ่งแสดงในตาราง  จงหาความเร่งเฉลี่ยและความเร่งขณะหนึ่งที่เวลา t = 1, 2 และ 3 S


เวลา(วินาที)
ความเร็ว (เมตร/วินาที)
0
1
2
3
4
5
10
11
12
13
14
15


ตารางที่  3.1  การเคลื่อนที่ของรถยนต์
https://chapter3motion.files.wordpress.com/2011/08/untitled-14.jpg?w=614



 
3.กฎการเคลื่อนที่(Lows of motion)
              กฎของการเคลื่อนที่ซึ่งเสนอโดยท่าน เซอร์ไอแซค นิวตัน เป็นหัวใจของวิชากลศาสตร์เราอาจกล่าววได้ว่าหลักการ (principles) ทุกหลักการในวิชานี้งอกเงยมาจากกฎ(ของ)การเคลื่อนที่นี้กฎเหล่านี้ไม่ได้มาจากการทำการทดลองหาโดยตรง แต่มาจากการสังเกตปรากฎการณ์ธรรมชาติและจากสมองสุดล้ำเลิศของนักฟิสิกส์สำคัญคนหนึ่งที่มนุษยชาติเคยมี ท่านนั้นคือเซอร์ไอแซค นิวตัน กฎการเคลื่อนที่นี้มีอยู่สามข้อ ดังนี้
              3.1  กฎการเคลื่อนที่ข้อที่หนึ่ง: กฎของความเฉื่อย(Law of Inertia)   “วัตถุจะคงสภาวะอยู่นิ่ง หรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ในแนวเส้นตรง หากไม่มีแรงมากระทำให้เปลี่ยนสภาวะนั้น ๆ ไป”  กฎข้อนี้เท่ากับเป็นการให้คำจำกัดความของระบบอ้างอิงแบบที่เรียกว่า ระบบอ้างอิงเฉื่อย (inertial frames of reference) และพร้อมกันก็นำมาซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับความเฉื่อย(inertia)  (วุทธิพันธุ์ ปรัชญพฤทธิ์,2549)
https://chapter3motion.files.wordpress.com/2011/08/untitled-151.jpg?w=614



3.2  กฎการเคลื่อนที่ข้อที่สอง: กฎของแรง (Law of Force)   “เมื่อมีแรงลัพธ์ซึ่งมีขนาดไม่เป็นศูนย์มากระทำต่อวัตถุ จะทำให้วัตถุเกิดความเร่งในทิศเดียวกับแรงลัพธ์ที่มากระทำ และขนาดของความเร่ง จะแปรผันตรงกับขนาดของแรงลัพธ์ และจะแปรผกผันกับมวลของวัตถุ”
https://chapter3motion.files.wordpress.com/2011/08/untitled-16.jpg?w=300&h=197
https://chapter3motion.files.wordpress.com/2011/08/untitled-17.jpg?w=300&h=253

3.3 กฎการเคลื่อนที่ข้อที่สาม: กฎของแรงกิริยา-ปฏิกิริยา(Law of Action-Reaction)
   “ทุกครั้งที่มีแรงกิริยา จะต้องมีแรงปฎิกิริยาโต้ตอบต้องขนาดเท่ากันแต่ทิศทางตรงกันข้าม”  แรงกิริยา(action) = แรงปฏิกิริยา (Reaction)
                                  F1    =   – F2  (สุรางคณา  แก่นโนนสังข์ , 2549)                     
              3.4  กฎแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตัน  “วัตถุทั้งหลายในเอกภพจะออกแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน โดยขนาดของแรงดึงดูดระหว่างวัตถุคู่หนึ่ง ๆ จะแปรผันตรงกับผลคูณระหว่างมวลวัตถุทั้งสองและจะแปรผกผันกับกำลังสองของระยะทางระหว่างวัตถุทั้งสองนั้น” 
https://chapter3motion.files.wordpress.com/2011/08/untitled-18.jpg?w=614  

เมื่อ G คือ ค่าคงตัวความโน้มถ่วงสากลมีค่า 6.67 x 10-11  N.m2/kg2  (จารุณี  เชิดชัยสถาพร , 2550)
             ตัวอย่างที่  3.4  ดาวเคราะห์ดวงหนึ่งมีมวล 12 ´ 108  กิโลกรัม รัศมี  2 ´ 102  เมตร ดาวเคราะห์จะมีแรงดึงดูดดวงจันทร์บริวารซึ่งมีมวล 2 ´ 103  กิโลกรัม อยู่ใกล้ๆผิวของดาวเคราะห์
https://chapter3motion.files.wordpress.com/2011/08/untitled-19.jpg?w=300&h=192
สำหรับการเคลื่อนที่แนวตรงด้วยความเร็วคงตัว  ระยะทางที่ได้จะเท่ากับผลคูณระหว่างความเร็ว
กับช่วงเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่นั้น ถ้าพิจารณาจากกราฟ ผลคูณระหว่างความเร็วกับช่วงเวลาคือ
พื้นที่ใต้กราฟความเร็ว – เวลา นั่นแสดงว่าพื้นที่ใต้กราฟความเร็ว – เวลา ในช่วงเวลาที่กำหนดคือ
ระยะที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ หรือการกระจัดที่เปลี่ยนไปในช่วงเวลานั้น
https://chapter3motion.files.wordpress.com/2011/08/untitled-201.jpg?w=300&h=215
รูปภาพที่ 3.5  กราฟ t กับ ความเร็วขณะหนึ่ง
  4.  การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงตามแนวราบ
                        4.1  เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่
https://chapter3motion.files.wordpress.com/2011/08/untitled-21.jpg?w=614
4.2  สมการสำหรับคำนวณหาปริมาณต่าง ๆ การเคลื่อนที่แนวตรง ตามแนวราบ ด้วยความเร่งคงตัว
https://chapter3motion.files.wordpress.com/2011/08/untitled-22.jpg?w=614
เมื่อ  u  เป็นความเร็วต้น  เมื่อเริ่มคิดเวลา (t = 0 )  ขนาดของ u นี้อาจมีค่าเท่ากับศูนย์หรือไม่เท่ากับศูนย์ก็ได้ 
หน่วยเป็นเมตรต่อวินาที (m/s)
        t  เป็นช่วงเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ทั้งหมด (กำหนดเวลาเริ่มต้นที่ t = 0 ) หน่วยเป็นวินาที (s)
       S เป็นการกระจัดที่เปลี่ยนไปในช่วงเวลา https://chapter3motion.files.wordpress.com/2011/08/untitled-23.jpg?w=614 หน่วยเป็นเมตร (m)
  v  เป็นความเร็วสุดท้ายของช่วงเวลา t   หรือเป็นความเร็วเมื่อสิ้นช่วงเวลา  t  หน่วยเป็น
เมตรต่อวินาที (m/s)
a  เป็นความเร่งเฉลี่ยในช่วงเวลา t   หน่วยเป็นเมตรต่อวินาที 2 (m/s2)
                        กรณีวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร่งคงตัวในแนวราบกำหนดให้ปริมาณที่มีความเร็วเพิ่มขึ้นค่า a  เป็นบวก
และถ้าความเร็วลดลงค่า  a  เป็นลบ
                        กรณีวัตถุออกจากสภาพนิ่งค่า   u  =  0
                        กรณีวัตถุเคลื่อนที่แล้วหยุดค่า    = 0
                        กรณีวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัวค่า   a = 0
       
                         ตัวอย่างที่  3.5  วัตถุเริ่มเคลื่อนที่จากจุดหยุดนิ่งไปด้วยความเร่ง  4  m/s2  นาน  5  s   
ถ้าแล่นต่อไปด้วยความเร็วคงที่  เป็นเวลา 20  s  ต่อจากนั้นก็ลดความเร็วลงด้วยความหน่วง  5  m/s2 จนหยุด  จงหา
                        ก.  ระยะที่วัตถุนั้นแล่นไปได้ทั้งหมด 
                        ข.  เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ทั้งหมด
วิธีทำ      ก.  ระยะที่วัตถุเคลื่อนที่ไปได้ทั้งหมด  นั้นแบ่งหาเป็น  3  ช่วง
               ช่วงแรก   โจทย์กำหนดให้   u = 0  m/s      a = 4  m/s2      t = 5 s  หาระยะทางในช่วงแรก
              จากสูตร                S =  ut + at2
               แทนค่า                 S =  0 m/s (5 s) + (4 m/s2) ( 5 s)2
                             S  =  50  m
              ช่วงที่ 2  เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ จะได้  a = 0   และต้องหาความเร็วเมื่อเคลื่อนที่ได้ระยะ 200  m แรก
              จากสมการ             =   u2 + 2as
              แทนค่า                  =  (0  m/s) 2  + 2(4 m/s2 )(50 m)
                                             =      400   m/s 
                                             =        m/s
                                             =   20   m/s 
                จะได้ระยะในช่วงที่ 2  โดยใช้สมการ  S  =  v t
                               แทนค่า  S  =  20 m/s ´  20  s
               จะได้ระยะในช่วงที่ 2  เป็น 400 เมตร
                ช่วงที่ 3           u  =  20  m/s       a =  – 5  m/s2             v = 0 
               จากสมการ           =  u2 + 2as
               แทนค่า            0  =  (20  m/s) 2  + 2(- 5 m/s2 )( S)
                                10 S  =  400  m  
                                    S   =  40  m
                        ระยะทางที่เคลื่อนที่ได้ =  50 +  400 + 40    =  490  m              ตอบ
                 ข.  หาเวลาในช่วง สุดท้าย    แล้วนำมารวมกับเวลาในช่วงที่ 1 และ 2  จะได้เวลาที่ใช้ทั้งหมด  
                        u = 20  m/s        a = – 5  m/s2        =  0    หาเวลาในช่วงสุดท้าย
                  จากสมการ                 =    u + at
                  แทนค่า              0      =   (20 m/s) +  (- 5 m/s2)  t s
                            (5 m/s2)  t      =    20 m/s
                                             t      =    4   s
                   จะได้เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ทั้งหมดเป็น  5  +  20 + 4  =  29  S                   ตอบ

                     4.3.  กราฟการกระจัด – เวลา
                                    กราฟการกระจัด – เวลา  มีประโยชน์สำหรับในการหาปริมาณการเคลื่อนที่ของวัตถุ 
เช่น  รถยนต์คันหนึ่งเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงจากจุด A  ที่เวลา t1 = 0  วินาที  ถึงจุด B ที่เวลา
t2 = t  วินาที  ได้การกระจัด S  เมตร
https://chapter3motion.files.wordpress.com/2011/08/untitled-24.jpg?w=614
รูปภาพที่ 3.6  รถยนต์ A ,B
https://chapter3motion.files.wordpress.com/2011/08/untitled-25.jpg?w=614
    รูปภาพที่ 3.7  แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง S กับ t 
1.  การกระจัด S  เป็นบวก และกราฟเป็นเส้นตรง  แสดงว่ารถเคลื่อนที่ไปทิศทางเดียวไม่ย้อนกลับ
                2.  การกระจัด S  แปรผันตรงกับเวลา  และกราฟเป็นเส้นตรง แสดงว่าความเร็วคงที่ 
สามารถหาความเร็วได้จากความชัน (Slope)ของกราฟ
https://chapter3motion.files.wordpress.com/2011/08/untitled-26.jpg?w=614
4.4  กราฟความเร็ว – เวลา
              วัตถุอยู่นิ่งกับที่และวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่จะมีความเร่งเป็นศูนย์  วัตถุที่เปลี่ยนความเร็วจะมีความเร่ง
ดังนั้นความเร่งสามารถหาได้จากกราฟความเร็ว – เวลา
https://chapter3motion.files.wordpress.com/2011/08/untitled-27.jpg?w=300&h=165
รูปภาพที่  3.8 แสดงกราฟความสัมพันธ์ระหว่าง  t  กับ  v
สำหรับเส้นกราฟ 1
                        1.  ความเร็วคงที่  30 m/s ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปเท่าใดก็ตาม
                        2.  สามารถหาการกระจัดของการเคลื่อนที่ได้จากพื้นที่ใต้กราฟ  ดังนี้
                             การกระจัด = พื้นที่ใต้กราฟ  =  (30 m/s) (6s)  = 180  เมตร
                        3.  หาความเร่งของการเคลื่อนที่จากความชันของกราฟ = 0

        สำหรับเส้นกราฟ 2
                        1.  ความเร็วเป็นบวก  และเพิ่มขึ้นเมื่อเวลามากขึ้น
                        2.  ความเร็วแปรผันตรงกับเวลา  ได้กราฟเป็นเส้นตรง
                        3.  การกระจัดหาได้จากพื้นที่ใต้กราฟ
การกระจัดในช่วงเวลา 0 – 4  วินาที  =https://chapter3motion.files.wordpress.com/2011/08/untitled-28.jpg?w=614 = 100  เมตร
4.  ความเร่งหาได้จาก ความชันของเส้นกราฟ
                             ความเร่ง = ความชันของเส้นกราฟ =https://chapter3motion.files.wordpress.com/2011/08/untitled-29.jpg?w=614 = 12.5   m/s2
 4.5  การเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงในแนวดิ่งภายใต้แรงดึงดูดของโลก
        การเคลื่อนที่ของสิ่งต่าง ๆ ที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน  ส่วนใหญ่ถ้าพิจารณาโดยหลักการทางฟิสิกส์จะพบว่า
เป็นการเคลื่อนที่แบบมีความเร่ง  ซึ่งมีทั้งความเร่งคงตัวและความเร่งที่เปลี่ยนแปลง  ในการศึกษาเบื้องต้น 
จะศึกษาเฉพาะการเคลื่อนที่แนวตรงด้วยความเร่งคงตัว จากการศึกษา การตกแบบเสรี (Free  fall)  ซึ่งเป็นการ
เคลื่อนที่ของวัตถุที่ปล่อยให้ตกภายใต้แรงดึงดูดของโลกเพียงอย่างเดียว ( ไม่คิดแรงต้านหรือแรงเสียดทานของอากาศ)
        ความเร่งในการเคลื่อนที่ของวัตถุที่ตกอย่างอิสระหรือตกแบบเสรีนี้  คือ 
ความเร่งเนื่องจากแรงดึงดูดของโลก (Acceleration  due  to  gravity) ใช้  g เป็นสัญลักษณ์ 
ซึ่งมีค่าประมาณ  9.80665  m/s2  ซึ่งเป็นค่าที่หาได้จากค่าเฉลี่ยทุกจุดของโลก   เพื่อความสะดวกมักจะใช้ค่า  
g = 9.8 m/s2 หรืออาจใช้  10 m/s2









https://chapter3motion.wordpress.com/การเคลื่อนที่ในหนึ่งมิ/


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ 1 การวัดและการแปลความหมายข้อมูล

บทที่ 5 การเคลื่อนที่แบบต่างๆ

บทที่ 2 เวกเตอร์